• Home
skbfinancialservices.com
ความปลอดภัย และ สุขภาพจากการทำงาน
Category:

General

General

โรยตัวซ่อมรอยร้าว บริการซ่อมแซมรอยร้าวบริเวณผนังอาคารด้วยการโรยตัว

by Vanessa Bennett กุมภาพันธ์ 11, 2023
written by Vanessa Bennett
โรยตัวซ่อมแซมรอยร้าว

การใช้บริการซ่อมแซมรอยร้าวบริเวณผนังอาคารด้วย บริการโรยตัว มีข้อดีอย่างไร

การใช้ บริการโรยตัว เป็นวิธีการที่คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสำหรับการซ่อมแซมหรือบำรุงรักษาโครงสร้างคอนกรีต ด้วยความที่ในสมัยนี้ อาคารบ้านเรือนและตึกสูงผุดขึ้นเต็มไปหมด การโรยตัวเพื่อซ่อมรอยร้าวจึงถือว่าได้รับความนิยมอย่างมากในกรณีที่จำเป็นต้องซ่อมรอยร้าวบริเวณพื้นผิวด้านนอกของอาคารคอนกรีต

บริการซ่อมแซมรอยร้าวด้วยการโรยตัวถือเป็นวิธีที่น่าสนใจ เนื่องจากการโรยตัวนั้นจะต้องทำงานโดยผู้เชี่ยวชาญ และจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่ได้รับมาตรฐาน ดังนั้น การใช้บริการโรยตัวซ่อมรอยร้าว จึงจำเป็นอย่างมากสำหรับเจ้าของอาคารคอนกรีตต่าง ๆ

ทีมโรยตัวซ่อมร้อยร้าว

สาเหตุของพื้นผิวคอนกรีตแตกร้าวและหลุดร่อน

  • ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ สภาพอากาศ และการสึกกร่อน
  • ปัจจัยภายใน เช่น คอนกรีตคุณภาพต่ำ โครงสร้างไม่มั่นคง และการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน
  • เนื่องจากคอนกรีตเป็นวัสดุที่แข็ง เมื่อเวลาผ่านไป คอนกรีตจะอ่อนตัวและแตกร้าว คลายตัวได้ง่าย
  • การบำรุงรักษาที่ไม่ดี เนื่องจากการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้พื้นผิวคอนกรีตอยู่ในสภาพดี การที่คุณละเลยและไม่ทำความสะอาดพื้นผิวก็อาจจะทำให้คอนกรีตแตกร้าวได้
  • การรับน้ำหนักมากเกินไป เนื่องจากพื้นผิวคอนกรีตที่รับน้ำหนักหรือแรงกดมากเกินไปสามารถแตกและหลุดร่อนได้เมื่อเวลาผ่านไป
  • แผ่นดินเคลื่อนหรือแผ่นดินไหว ซึ่งอาจทำให้ฐานรากคอนกรีตเคลื่อนตัวและแตกร้าวได้
  • พื้นผิวสัมผัสสารเคมี เช่น การสัมผัสเกลือ สารที่เป็นกรด ซึ่งอาจทำให้คอนกรีตอ่อนตัวและเกิดการแตกร้าวได้

โรยตัว ซ่อมแซมรอยร้าว

วิธีซ่อมพื้นผิวคอนกรีตด้วยตนเอง

  • ทำความสะอาดพื้นผิว: ทำความสะอาดพื้นผิวคอนกรีตเพื่อขจัดสิ่งสกปรก เศษผง หรือวัสดุที่หลุดร่อน การทำแบบนี้จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าวัสดุที่นำมาซ่อมแซมจะติดกับพื้นผิวแน่น
  • เตรียมพื้นผิว: เตรียมพื้นผิวของคอนกรีตโดยการขจัดคอนกรีตที่หลุดร่อนหรือบิ่นออกและปรับขอบที่ขรุขระให้เรียบ
  • อุดรอยร้าว: อุดรอยร้าวด้วยน้ำยาซ่อมแซมคอนกรีต  หากรอยแตกมีขนาดใหญ่อาจต้องใช้ไม้ค้ำยันหรือตาข่ายเสริมเพื่อซ่อมแซม
  • เสริมกำลัง: หากคอนกรีตหลวม ให้เสริมแรงโดยใช้น้ำยาประสานคอนกรีต และฝังเส้นใยเสริมแรงหรือตาข่ายลงในพื้นผิว
  • ใช้ส่วนผสมสำหรับปะคอนกรีต: ทาส่วนผสมสำหรับปะคอนกรีตกับพื้นผิวโดยใช้เกรียงหรือมีดสำหรับอุดรูเพื่อเกลี่ยให้เรียบ
  • ปล่อยให้พื้นผิวซ่อมแซมตัวเอง: ปล่อยให้วัสดุซ่อมแซมแข็งตัวอย่างสมบูรณ์ ในขั้นตอนนี้อาจใช้เวลาหลายชั่วโมงหรือหลายวัน ขึ้นอยู่กับวัสดุและเงื่อนไขในการซ่อม
  • ซีล: สุดท้าย ใช้น้ำยาซีลคอนกรีตเพื่อป้องกันพื้นผิวที่ซ่อมแซมและช่วยป้องกันการแตกร้าวและการคลายตัวในอนาคต

อันตรายจากพื้นผิวคอนกรีตแตกร้าวและหลุดร่อน

พื้นผิวคอนกรีตที่แตกร้าวและหลุดร่อนอาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างมากต่อผู้คนและทรัพย์สิน อาจทำให้สะดุด หกล้ม และบาดเจ็บ ตลอดจนความเสียหายต่อยานพาหนะในพื้นที่ ในบางกรณี คอนกรีตที่แตกร้าวและหลุดร่อนอาจเป็นอันตรายต่อโครงสร้างโดยรวมของอาคาร เนื่องจากอาจทำให้ความมั่นคงของโครงสร้างอ่อนแอลง

ทำไมถึงควรใช้ บริการทีมโรยตัว ซ่อมแซมรอยร้าว

บริการโรยตัวซ่อมแซมรอยร้าว มีข้อดีหลายประการ รวมถึงความเร็วและประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า ความปลอดภัย และเจ้าของอาคารไม่จำเป็นต้องออกจากอาคาร หรือปิดอาคารเพื่อปรับปรุง เพราะการ โรยตัวซ่อมแซมรอยร้าว สามารถทำได้เลยระหว่างที่อาคารกำลังใช้งาน

โรยตัวซ่อมแซมรอยร้าว สามารถเสร็จสิ้นได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยมารบกวนอาคารหรือผู้อยู่อาศัยน้อยที่สุด นอกจากนี้ บริการโรยตัวซ่อมแซมรอยร้าวยังประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากไม่ต้องเช่านั่งร้านหรืออุปกรณ์ราคาแพง บริการโรยตัวซ่อมแซมรอยร้าวยังช่วยเพิ่มความปลอดภัย เนื่องจากช่างเทคนิคมีการติดตั้งอุปกรณ์และการฝึกอบรมเฉพาะทาง ทำให้มั่นใจได้เลยว่ามีความปลอดภัยอย่างแน่นอน

กุมภาพันธ์ 11, 2023 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
General

ความปลอดภัยและอันตรายในการทำงานสำหรับพนักงานออฟฟิศ

by Vanessa Bennett กรกฎาคม 22, 2022
written by Vanessa Bennett
ความปลอดภัยและอันตรายในการทำงานสำหรับพนักงานออฟฟิศ

ความปลอดภัยในการทำงาน และ อันตรายจากการทำงานสำหรับพนักงานออฟฟิศ มีอะไรบ้าง

การทำงานในออฟฟิศ มักถูกมองข้ามเรื่องความปลอดภัย คนทั่วไปมักมองว่า พนักงานออฟฟิศทำงานสบาย ไม่มีอันตรายจากการทำงาน  แต่ทุกงานมีอันตรายแฝงอยู่เสมอ ซึ่งอันตรายในงานแต่ละงานก็มีความแตกต่างกันไป 

1. อันตรายในการทำงานสำหรับพนักงานออฟฟิศ

การทำงานไม่ว่าจะงานอะไรย่อมมีอันตรายแฝงอยู่เสมอ งานในออฟฟิศก็เช่นกัน โดยแบ่งประเภทของอันตรายในงานออฟฟิศ ได้ดังนี้

 

 

  • อันตรายจากการพลัดตกและหกล้ม  

อันตรายลักษณะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ หากสภาพแวดล้อมในออฟฟิศไม่มีการจัดการพื้นที่ที่ดี เช่น วางของไว้บนที่สูงแล้วใช้เก้าอี้ที่มีล้อปีนขึ้นไป จึงตกลงมา หรือวางสิ่งของยื่นเข้ามาบนทางเดิน อาจทำให้สะดุดและล้มลงได้

  • อันตรายจากการชน การกระแทก

การทำงานในออฟฟิศ พนักงานมักจะเดินชน เป็นประจำ จนทำให้คิดว่าเป็นเรื่องปกติ ไม่มีอันตรายอะไร แต่ก็ทำให้เกิดการเขียวช้ำได้ ไม่ว่าจะเดินชน โต๊ะ เก้าอี้ หรือลิ้นชัก 

 

 

  • อันตรายจากการยกสิ่งของ 

เราคงเคยได้ยินว่า การยกสิ่งของที่ไม่ถูกต้อง อาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณหลังได้ ซึ่งหากเราทำงานบนออฟฟิศ อาจจะต้องยกกล่องเอกสาร ยกกระดาษ หรือเคลื่อนย้ายโต๊ะทำงาน ถ้ายกหรือเคลื่อนย้ายด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้อง อาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บได้เช่นกัน

  • อันตรายจากการถูกบาดหรือถูกตัด 

การทำงานในออฟฟิศ อาจเกิดอันตรายจากการถูกมีดบาด กรรไกรบาด หรือแม้แต่กระดาษก็สามารถบาดมือได้

  • อันตรายจากไฟฟ้า  

เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สำหรับการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น การเสียบปลั๊ก เปิด – ปิด สวิชท์ ซึ่งอาจทำให้ผู้ปฏิบัติงานถูกไฟฟ้าดูดได้ 

  • อันตรายจากเครื่องถ่ายเอกสาร 

ซึ่งเครื่องถ่ายเอกสารมีทั้งรังสี และอันตรายจากหมึกพิมพ์ หากเราต้องสัมผัสเป็นประจำและเป็นระยะเวลานานๆ ก็ส่งผลต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานได้

  • อันตรายจากการใช้คอมพิวเตอร์ 

เมื่อพูดถึงการทำงานในออฟฟิศ สิ่งแรกที่ต้องใช้คือคอมพิวเตอร์ ซึ่งการใช้คอมพิวเตอร์ ก็มีอันตรายเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นท่าทางในการนั่งทำงาน ที่นั่งด้วยท่าเดิมๆ เป็นเวลานาน หรือจะเป็นแสงจากจอคอมพิวเตอร์ 

  • อันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน แสง เชื้อโรค ฝุ่นละออง การระบายอากาศ

สภาพแวดล้อมในการทำงานในออฟฟิศ มีความสำคัญในการทำงานด้วยเช่นกัน เพราะหากแสง

สว่างน้อยหรือจ้าเกินไป ก็อาจเกิดอันตรายได้ เชื้อโรคจากเครื่องปรับอากาศ ฝุ่นในพื้นที่ทำงาน หากสูดหายใจเข้าไปทุกวัน ก็เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจได้ หรือแม้แต่ความเย็ฯของเครื่องปรับอากาศเอง ถ้าหนาวหรือร้อนเกินไป ก็ส่งผลต่อการทำงานได้

 

 

2. การป้องกันอันตรายสำหรับพนักงานออฟฟิศ

การป้องกันอันตรายสำหรับพนักงานออฟฟิศ สามารถทำได้หลายวิธี อยู่ที่องค์กรว่าจะเลือกวิธีไหน และมี

ความเหมาะสมมากน้อยเพียงใดกับสถานที่นั้นๆ ซึ่งในที่นี้ ขอพูดถึงวิธีดังต่อไปนี้

2.1. การทำ 3ส หรือ 3S 

การทำ 3ส หรือ 3S ประกอบด้วย สะสาง สะดวก และสะอาด 

  • ส  –  สะสาง (Seiri หรือ Sort) คือ การแยกสิ่งที่จำเป็นและไม่จำเป็นให้เป็นระเบียบ อะไรที่ใช้อยู่ให้กำหนดจุดวางให้เรียบร้อย จัดเก็บให้เป็นระเบียบ อะไรไม่ใช้ให้ทิ้ง 
  • ส  –  สะดวก (Seiton หรือ Set in Order) คือ การนำสิ่งที่เราสะสางเรียบร้อยแล้ว มาจัดวางให้เป็นระเบียบ โดยคำนึงถึงการใช้งานและความปลอดภัย ติดป้ายชี้บ่ง กำหนดจุดวางให้เรียบร้อย
  • ส  – สะอาด (Seiso หรือ Shine) คือ การทำความสะอาด ปัดกวาด เช็ดถู ซึ่งถือว่าเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานให้สะอาด ไม่มีฝุ่นในพื้นที่ ก็จะทำให้เรามีสุขภาพที่ดีด้วยซึ่งการทำ 3ส ถือว่าเป็นพื้นฐานของความปลอดภัย เมื่อสภาพแวดล้อมในการทำงานดี มีการทำ 3ส ที่ดีก็เป็นการลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุอีกวิธีหนึ่ง ที่สามารถทำได้โดยไม่ต้องรอ เช่น ลดโอกาสการเดินชน หรือการเกิดอุบัติเหตุจากการจัดวางสิ่งของในออฟฟิศที่ไม่เป็นระเบียบ เป็นต้น

2.2 การอบรมให้ความรู้ 

การอบรมให้ความรู้เป็นพื้นฐานในการทำงานสำหรับทุกงานไม่ว่าจะเป็นงานฝ่ายผลิตหรืองานบนออฟฟิศก็ตามเพราะหากเรามีความรู้ที่ถูกต้องในงานที่เราทำก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นการทำงานที่ปลอดภัยเช่นกันโดยความรู้ที่พนักงานออฟฟิศควรรู้เช่น

  • ท่าทางที่ถูกต้องในการทำงาน เพราะพนักงานออฟฟิศ มักนั่งทำงานด้วยท่าทางเดิมๆ เป็นเวลานานหากไม่มีความรู้ในเรื่องของการยศาสตร์ ก็ทำให้เกิดความเมื่อยล้า และอาจเป็นออฟฟิศซินโดรมได้
  • การใช้เครื่องมือสำนักงานอย่างถูกต้องและปลอดภัย เพราะเครื่องมือสำนักงาน อาจทำให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน หากใช้ไม่ถูกประเภทและถูกวิธี เช่น การใช้มีดคัตเตอร์ การใช้กรรไกร
  • การทำงานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ทุกคนที่ทำงานบนออฟฟิศต้องสัมผัสกับอันตรายจากไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นการเปิด-ปิด สวิชท์ การเสียบปลั๊ก หรือการใช้เครื่องเคลือบเอกสาร
  • การยกของด้วยท่าทางที่ถูกต้อง การทำงานบนออฟฟิศ มีความจำเป็นต้องยก เคลื่อนย้ายสิ่งของด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นกล่องเอกสาร กระดาษ หรือสิ่งของอื่น ซึ่งหากยกด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้องอาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณหลังได้

2.3 การเลือกใช้อุปกรณ์สำนักงาน

นอกจากการทำ 3ส และการอบรมให้ความรู้กับพนักงานแล้ว การเลือกใช้อุปกรณ์สำนักงานก็มีความสำคัญ เช่นกัน หากเราไม่เลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสม ก็อาจเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการปฏิบัติงานได้ เช่น การเลือกใช้เก้าอี้ที่สามารถปรับระดับความสูงได้ และมีที่พักแขน เพราะสรีระของคนเราไม่เหมือนกัน จึงต้องมีการปรับให้เหมาะสมกับรูปร่างของแต่ละคน  หรือการเลือกใช้เครื่องตัดกระดาษแทนการใช้มีดคัตเตอร์ เพื่อลดโอกาสการบาดมือของผู้ใช้งาน เป็นต้น

ซึ่งวิธีที่กล่าวมา เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ละที่อาจมีวิธีที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งไม่ว่าจะเป็นวิธีไหน ก็มีประโยชน์ต่อการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในออฟฟิศได้ เพียงแต่ว่าเมื่อกำหนดขึ้นมาแล้ว ต้องปฏิบัติตามและรักษาไว้

 

 

3. โรคยอดฮิตสำหรับพนักงานออฟฟิศ

เมื่อพูดถึงโรคยอดฮิดสำหรับพนักงานออฟฟิศ ทุกคนคงพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ออฟฟิศซินโดรม ที่เราได้ยินกันมานาน วันนี้เราจะมารู้จักออฟฟิศซินโดรมกัน

3.1   ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คืออะไร

  • ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด เนื่องมาจากรูปแบบ การทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานานต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณคอ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ซึ่งอาการปวดอาจลุกลามจนกลายเป็นเรื้อรังได้

3.2   การป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม

การป้องการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม มีด้วยกันหลายวิธี ได้แก่

  • การออกกำลังกายด้วยท่าที่เหมาะสมกับอาการ เช่น การยืดกล้ามเนื้อให้เกิดการยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
  • ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น การปรับระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ ให้สามารถนั่งด้วยท่าที่สบาย การปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ระดับสายตา เป็นต้น
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานกล้ามเนื้อ เช่น ในระหว่างทำงานควรมีการยืดหรือเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อผ่อนคลายอย่างน้อยทุกๆ 1 ชั่วโมง การพักสายตาโดยมองออกไปไกลๆ เป็นต้น

สรุป

การทำงานในออฟฟิศถึงแม้ว่าจะเป็นอันตรายที่ไม่ร้ายแรง แต่ก็มีอันตรายที่แอบแฝงอยู่ ซึ่งอันตรายต่างๆ สามารถป้องกันได้ โดยเริ่มตั้งแต่การทำ 3ส เพราะเป็นพื้นฐานของความปลอดภัย และหาวิธีการอื่นที่เหมาะสมร่วมด้วย โดยดูตามความเหมาะสมขององค์กร เพื่อให้สามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กรกฎาคม 22, 2022 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
General

ความปลอดภัยในการทำงานเชื่อม Welding

by Vanessa Bennett กรกฎาคม 22, 2022
written by Vanessa Bennett
ความปลอดภัยในการทำงานเชื่อม

ความปลอดภัยในการทำงานเชื่อมมีความสำคัญอย่างไร

การเชื่อม (Welding) เป็นกระบวนการที่ใช้สำหรับต่อวัสดุ ส่วนใหญ่เป็นโลหะและเทอร์โมพลาสติก โดยให้รวมตัวเข้าด้วยกัน ปกติใช้วิธีทำให้ชิ้นงานหลอมละลาย และการเพิ่มเนื้อโลหะเติมลงไป เมื่อเย็นตัวรอยต่อจะมีความแข็งแรง 

การทำงานเชื่อมเหมือนกันแต่สภาพแวดล้อมแตกต่างกันย่อมมีอันตรายที่ต่างกันเช่นเชื่อมบนพื้นที่มีความชื้นเชื่อมบริเวณที่มีสารเคมีไวไฟหรือเชื่อมใต้น้ำเป็นต้น

1. กฎหมายเกี่ยวกับงานเชื่อม

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564 ได้กำหนดเกี่ยวกับงานเชื่อมไว้ใน หมวด 1 ส่วนที่ 3 เครื่องเชื่อมไฟฟ้าและเครื่องเชื่อมก๊าซ

 

 

2. อันตรายจากงานเชื่อม

งานเชื่อม ไม่ว่าจะเป็นงานเชื่อมไฟฟ้าหรืองานเชื่อมด้วยก๊าซ ย่อมมีอันตรายด้วยกันทั้งสิ้น แต่อาจจะมีอันตรายที่แตกต่างกันตามประเภททของเครื่องเชื่อมที่ใช้งาน ซึ่งอันตรายที่ต้องพบเจอสำหรับงานเชื่อมที่เหมือนกัน ได้แก่ ควัน ฟูม แสงจ้า ความร้อน ในขณะเชื่อม และหากเป็นอันตรายจากเครื่องเชื่อมไฟฟ้า อาจทำให้ผู้ปฏิบัติงาน ได้รับอันตรายจากกระแสไฟฟ้าได้ เนื่องจากในขณะที่ปฏิบัติงานนั้น จะมีกระแสไฟฟ้าอยู่ตลอดเวลา จึงต้องทำการตรวจเช็คก่อนการใช้งานอย่างละเอียด เพื่อป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้า และหากเป็นเครื่องเชื่อมก๊าซ สิ่งที่ต้องระวังเป็นอย่างมาก คือการเกิดปรากฏการณ์ไฟย้อนกลับ (Flashback) ซึ่งหากเกิดบริเวณถังก๊าซ จะทำให้เกิดอันตรายและความเสียหายเป็นวงกว้าง อาจทำให้เสียชีวิตได้

  • ไฟย้อนกลับ (Flashback) คืออะไร

ไฟย้อนกลับ (Flashback) คือปรากฏการณ์ที่ไฟย้อนกลับจากหัวเชื่อม (Torch) เข้าสายแก๊สผ่านอุปกรณ์ปรับความดัน (Regulators) ไปยังถังเชื้อเพลิง (Fuel Gas Cylinder) และออกซิเจนไหลตามเข้าไปหรืออกซิเจนอาจจะไหลย้อนเข้าไปก่อนก๊าซจึงไหลตามเข้าไปและทำให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวขึ้น

  • การป้องกันไฟย้อนกลับ

การป้องกันไฟย้อนกลับสามารถทำได้โดยการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับ (Flashback Arrestors) 4 จุดที่อุปกรณ์เชื่อมก๊าซดังนี้

  1. ทางออกของอุปกรณ์ปรับแรงดันออกซิเจน
  2. ทางออกของอุปกรณ์ปรับแรงดันก๊าซเชื้อเพลิง
  3. ด้ามหัวเชื่อมทางด้านที่ต่อกับสายออกซิเจน
  4. ด้ามหัวเชื่อมทางด้านที่ต่อกับสายก๊าซเชื้อเพลิง

 

 

3. ความปลอดภัยในการทำงานเชื่อม

  1. ก่อนใช้งานเครื่องเชื่อมไฟฟ้าและเครื่องเชื่อมก๊าซ

  • จัดให้มีถังดับเพลิงอยู่บริเวณใกล้เคียง สามารถนำไปใช้ดับเพลิงได้ทันที
  • จัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ได้แก่
  1.  ถุงมือหนังหรือถุงมือผ้า
  2.  กระบังหน้าลดแสงหรือแว่นตาลดแสง
  3.  รองเท้านิรภัย
  4.  แผ่นปิดหน้าอกกันประกายไฟ ต้องป้องกันประกายไฟหรือทนความร้อนได้ดี 
  5.   อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ
  • บริเวณที่ปฏิบัติงาน ต้องไม่มีวัสดุที่ติดไฟง่ายวางอยู่
  • จัดให้มีฉากกั้นหรืออุปกรณ์ป้องกันอันตรายอื่นๆ ที่เหมาะสม เพื่อป้องกันอันตรายจากประกายไฟและแสงจ้า 
  • จัดสถานที่ปฏิบัติงานให้มีแสงสว่างและการระบายอากาศอย่างเหมาะสม

 2. การควบคุมในระหว่างการปฏิบัติงานเชื่อม

  • ต้องควบคุมดูแลไม่ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณที่มีการทำงานเชื่อมด้วยเครื่องเชื่อมไฟฟ้าหรือเครื่องเชื่อมก๊าซ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว งานเชื่อมจะทำในพื้นที่เฉพาะ เช่น พื้นที่การทำงานของช่าง หรือหากมีความจำเป็นต้องเชื่อมในพื้นที่การผลิต ต้องกั้นแยกพื้นที่ให้ชัดเจน และป้องกันประกายไฟด้วย
  • หากใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้าหรือเครื่องเชื่อมก๊าซกับภาชนะบรรจุสารไวไฟ หรือบริเวณที่อาจก่อให้เกิดการระเบิด ไฟไหม้หรือไฟลามจากก๊าซน้ำมัน หรือวัตถุไวไฟอื่น ต้องมีมาตรการด้านความปลอดภัยและควบคุมอย่างเคร่งครัด 

 

 

3. ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องเชื่อมไฟฟ้า

  • จัดให้มีการใช้สายดินของวงจรเชื่อม หัวจับสายดินวงจรเชื่อม สายเชื่อม และหัวจับลวดเชื่อม ตามขนาดและมาตรฐานที่กำหนดไว้
  • สายไฟฟ้าและสายดิน ต้องห่างจากการบดทับของยานพาหนะ น้ำ ที่ชื้นแฉะ ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ให้หามาตรการป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย

หมายเหตุ : ไม่บังคับใช้กับเครื่องเชื่อมไฟฟ้าที่ต้องปฏิบัติงานใต้น้ำ

4. ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องเชื่อมก๊าซ

  • ติดตั้งและตรวจสอบอุปกรณ์ควบคุมความดัน และมาตรวัดที่ถูกต้อง เหมาะสมกับชนิดของก๊าซ
  • ตรวจสอบการรั่วไหล การหลุดหลวม การสึกหรอของอุปกรณ์ หรือสภาพที่ไม่ปลอดภัยทุกครั้งก่อนการใช้งาน หากพบว่าไม่ปลอดภัยต้องรีบแก้ไข
  • จัดทำเครื่องหมาย สี หรือสัญลักษณ์ที่ท่อส่งก๊าซ หัวเชื่อม หรือหัวตัดให้เป็นแบบและชนิดเดียวกัน
  • ต้องมีอุปกรณ์กันเปลวไฟย้อนกลับติดระหว่างหัวเชื่อม หัวตัดหรือหัวเผากับถังบรรจุก๊าซออกซิเจน และถังก๊าซไวไฟขณะใช้งาน หรือที่เราเรียกว่า Flashback Arrestors

นอกจากมาตรการที่กล่าวมาอาจกำหนดมาตรการเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยมากขึ้นเช่นกำหนดใหเลิกงานก่อนเวลา 1 ชม. เพื่อเป็นการเฝ้าระวังอันตรายจากไฟไหม้เพราะหากเราเลิกงานแล้วกลับบ้านทันทีอาจทำให้เกิดไฟไหม้ตามมาได้ 

นอกจากการกำหนดมาตรการแล้ว ผู้ที่ต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าต้องผ่านการอบรมเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการทำงานที่ปลอดภัย การป้องกันอันตราย รายละเอียดเกี่ยวกับโครงสร้างอุปกรณ์ การตรวจสอบและการบำรุงรักษา ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ใน หมวด 1 ส่วนที่ 1 บททั่วไป ข้อ 13 ของกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564

สรุป

การทำงานเชื่อม ไม่ว่าจะเป็นเชื่อมไฟฟ้าหรือเชื่อมก๊าซ ย่อมมีอันตรายเกิดขึ้น ในระหว่างการปฏิบัติงาน นอกจากต้องมีมาตรการการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยแล้ว ผู้ปฏิบัติต้องเป็นผู้ที่ผ่านการอบรม และก่อนการปฏิบัติงานต้องทำการตรวจสอบความปลอดภัยของเครื่องเชื่อมก่อนทุกครั้ง และหากพบว่า เครื่องเชื่อมอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมใช้งาน ต้องรีบแก้ไขโดยทันที

กรกฎาคม 22, 2022 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail
General

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

by Vanessa Bennett กรกฎาคม 22, 2022
written by Vanessa Bennett
กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบ การจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

ว่าด้วยเรื่อง มาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565 ตามที่กฎกระทรวงได้กำหนดไว้

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัยพ.ศ. 2565  ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2565 และบังคับใช้ เมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับจากวันที่ประกาศ โดยออกมาเพื่อยกเลิกกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 โดยในกฎกระทรวง พ.ศ. 2565 นี้ ได้พูดถึงวิธีการจัดทำระบบการจัดการด้านความปลอดภัย ไว้อย่างละเอียด เพื่อให้การจัดการด้านความปลอดภัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

1. ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยคืออะไร

  • “ระบบการจัดการด้านความปลอดภัย” หมายความว่า ระบบการจัดการที่กำหนดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการของสถานประกอบกิจการเพื่อนำไปปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งครอบคลุมการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ คล้ายๆกับ ISO 9001  แต่ไม่ใช่เป็นเพียงระบบที่ไม่ต้องขอการรับรองแต่ต้องมีตามกฎหมาย

2. บังคับใช้กับสถานประกอบกิจการประเภทไหนบ้าง

  • สถานประกอบกิจการ 54 ประเภท ตามบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป  และถ้าปัจจุบันยังมีลูกจ้างไม่ครบ 50 คน กฎกระทรวงฉบับนี้ยังไม่บังคับใช้ แต่ถ้าครบ 50 คน เมื่อไหร่ ต้องดำเนินการภายใน 60 วัน ที่มีลูกจ้างครบ 50 คนทันที 

 

 

3. ระบบการจัดการด้านความปลอดภัย ประกอบด้วยอะไรบ้าง

  • ระบบการจัดการด้านความปลอดภัย ประกอบด้วย 5 หัวข้อ ดังนี้ 

3.1. นโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ซึ่งในการกำหนดนโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ต้องสอดคล้องกับสภาพการทำงานและกฎหมายความปลอดภัย  เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ และเพื่อให้การปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยนายจ้างต้องมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้

  • ให้ลูกจ้างมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และเผยแพร่ให้ลูกจ้างหรือผู้เกี่ยวข้องรับทราบ
  • จัดทำนโยบายเป็นภาษาไทย หรือจะมีภาษาอื่นที่ลูกจ้างเข้าใจได้ พร้อมทั้งลงลายมือชื่อ ประทับตรา ลงวันที่ให้ถูกต้องครบถ้วน จัดทำเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วยก็ได้
  • มีการทบทวนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

3.2.การจัดการองค์กรด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน อย่างน้อยต้องประกอบด้วย

  • จัดให้มีบุคลากรซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการตามระบบการจัดการด้านความปลอดภัยที่เหมาะสมกับตำแหน่ง
  • อบรมบุคลากรให้มีความรู้และทักษะ ให้สามารถปฏิบัติงานตามระบบการจัดการด้านความปลอดภัยได้
  • จัดทำเอกสารเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัยให้เป็นปัจจุบัน เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยจัดทำเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วยก็ได้
  • สื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัยให้แก่ลูกจ้าง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในสถานประกอบกิจการ และข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายและมาตรฐานความปลอดภัย ให้แก่ผู้รับเหมาและผู้เกี่ยวข้อง

 

 

3.3.แผนงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการนำไปปฏิบัติ

แผนงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน อย่างน้อยต้องมีเนื้อหา ดังนี้

  • การทบทวนสถานะเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในบริเวณที่ทำงานของลูกจ้าง ซึ่งรวมถึงการระบายอากาศ สารเคมีอันตราย ความร้อน แสงสว่าง เสียง รังสี ไฟฟ้า อับอากาศ เครื่องจักร อาคาร สถานที่ ตลอดจนสภาพและลักษณะการทำงานอื่นของลูกจ้าง และในกรณีเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมต้องมีการทบทวนสถานะเบื้องต้น เพื่อให้ทราบถึงอันตรายหรือระดับความเสี่ยงด้วยทุกครั้ง
  • นำผลการทบทวนมาวางแผนงานด้านความปลอดภัยฯ ให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย ซึ่งต้องมีการกำหนดผู้รับผิดชอบ งบประมาณ ระยะเวลาในการดำเนินการ และเกณฑ์การประเมินผล
  • การนำแผนงานด้านความปลอดภัยฯ ไปปฏิบัติ
  • การประเมินผลที่ได้จากการปฏิบัติตามแผนงานด้านความปลอดภัยฯ
  • การนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนงานด้านความปลอดภัยฯ

3.4.การประเมินผลและการทบทวนระบบการจัดการด้านความปลอดภัย

การประเมินผลและทบทวนระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อย่างน้อยต้องดำเนินการ ดังนี้

  • มีการตรวจติดตามและวัดผลการปฏิบัติงานของระบบการจัดการด้านความปลอดภัย
  • มีการสอบสวนหาสาเหตุของการเกิดอุบัติการณ์ การเจ็บป่วย โรคจากการทำงานหรือความเสียหายต่อทรัพย์สิน เพื่อกำหนดมาตรการในการแก้ไข ปรับปรุง ป้องกันการเกิดเหตุซ้ำอีก
  • มีการทบทวนระบบการจัดการด้านความปลอดภัย โดยนำผลการดำเนินการตามระบบมาวิเคราะห์หาสาเหตุของข้อบกพร่องและแนวโน้มที่จะเกิดข้อบกพร่อง

นายจ้างต้องจัดให้มีการประเมินผลและทบทวนระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

3.5.การปรับปรุงและการพัฒนาระบบการจัดการด้านความปลอดภัย

ต้องนำผลที่ได้จากการประเมินผลและทบทวนระบบการจัดการด้านความปลอดภัย (ข้อ 4) มาปรับปรุงแก้ไขระบบการจัดการด้านความปลอดภัย การปรับปรุงและการพัฒนาระบบการจัดการด้านความปลอดภัย ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย

 

 

4. นายจ้างต้องทำอย่างไร เพื่อให้ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยมีประสิทธิภาพ

  1. ควบคุมดูแลการดำเนินการตามระบบการจัดการด้านความปลอดภัย
  2. ให้ลูกจ้างมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามระบบ
  3. ให้ลูกจ้างเข้าถึงข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัยได้
  4. มีช่องทางรับความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับความปลอดภัย เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุง แก้ไขระบบการจัดการด้านความปลอดภัย

ถ้ามีระบบการจัดการด้านความปลอดภัยตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรฐานสากล หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่า ถือว่าได้จัดให้มีระบบการจัดการด้านความปลอดภัยแล้ว โดยดูได้จาก ข้อ 13 กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

สรุป

ระบบการจัดการด้านความปลอดภัย ตามกฎกระทรวง ฉบับนี้ ไม่เพียงแต่บังคับภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น ยังรวมถึงกิจการอื่นๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า สวนสนุก โรงพยาบาล โรงแรม เป็นต้น โดยการจัดทำระบบด้านความปลอดภัย ให้มีประสิทธิภาพนั้น  ต้องมีการวางแผน ปฏิบัติ ประเมินผล ทบทวน ปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 

กรกฎาคม 22, 2022 0 comment
0 FacebookTwitterPinterestEmail

เรื่องล่าสุด

  • โรยตัวซ่อมรอยร้าว บริการซ่อมแซมรอยร้าวบริเวณผนังอาคารด้วยการโรยตัว
  • ความปลอดภัยและอันตรายในการทำงานสำหรับพนักงานออฟฟิศ
  • ความปลอดภัยในการทำงานเชื่อม Welding
  • กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565
  • ระบบเสียงห้องประชุมที่ดี หมายถึง ห้องประชุมที่จะต้องได้ยินเสียงในการพูดคุยชัดเจน

ป้ายกำกับ

Office Syndrome การทำงานสำหรับพนักงานออฟฟิศ คณะกรรมการความปลอดภัย ความปลอดภัยในการทำงานเชื่อม งานเชื่อม บริการโรยตัวซ่อมแซมรอยร้าว ระบบการจัดการด้านความปลอดภัย ระบบเสียงห้องประชุมที่ดี หน้าที่ คปอ อบรม คปอ เครื่องเสียงห้องประชุม แผนงานด้านความปลอดภัย โรยตัวซ่อมแซมรอยร้าว

@2019 - All Right Reserved. Designed and Developed by skbfinancialservices.com

skbfinancialservices.com
  • Home