เว็บไซต์บทความเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ที่ครอบคลุมทุกด้านในการทำงาน
วันพุธ, เมษายน 24, 2024
Home » หน้าที่ คปอ คณะกรรมการความปลอดภัย ตามกฎหมายมีอะไรบ้าง

หน้าที่ คปอ คณะกรรมการความปลอดภัย ตามกฎหมายมีอะไรบ้าง

by Vanessa Bennett
468 views
หน้าที่คปอ ตามกฎหมายมีอะไรบ้าง

คปอ.หมายถึง คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

บุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่จะคอยช่วยตรวจสอบด้านความปลอดภัยในการทำงานซึ่งเราเรียกว่าคณะ คปอ

มีตัวแทนจากผู้บริหาร และ ตัวแทนจากลูกจ้าง และมี จป.วิชาชีพเป็นเลขานุการ ตามที่กฏหมายกำหนด มีหน้าที่ตามที่กฏหมายกำหนด (อันนี้ต้องไปดูเองนะครับ กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549) ส่วนหน่วยงานความปลอดภัย เป็นหน่วยงานหน่วยงานหนึ่งที่ขึ้นตรงกับผู้บริหารสูงสุด (กฏหมายกำหนดว่าถ้ามีพนักงานไม่ถึง 200 คนไม่จำเป็นต้องมีก็ได้) มีหน้าที่ปฏิบัติงานตามนโยบายของบริษัท เช่นงานด้านดูแลความปลอดภัย งานด้านควบคุมป้องกันการเกิดเพลิง ฯลฯ คณะกรรมการ คือ ผู้ที่ไม่ได้ทำหน้าที่ประจำรับผิดชอบโดยตรง แต่ เป็น คณะผู้คน ที่มี 2 ฝ่าย คือ นายจ้าง ลูกจ้าง และ จป. คล้ายกับ รัฐ นายจ้าง ลูกจ้าง ครับ ส่วนหน่วยงาน คือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหาร โรงงานมี คปอ. 11 คน ได้แก่

  • 1 คนเป็นผู้แทนนายจ้าง
  • 1 คน เป็น จป.ว การมการและเลขานุการ
  • 4 คน เป็น กรรมการผู้แทนระดับบังคับบัญชา (มาจากการแต่งตั้งโดยนายจ้าง ก็จะมีหัวหน้างานและผจก.ขึ้นไป)
  • 5 คน เป็น กรรมการผู้แทนระดับลูกจ้างมาจากการเลือกตั้ง

 

บทบาทหน้าที่คปอ

 

บทบาทหน้าที่ คปอ 11 ข้อที่คนที่อบรม คปอ แล้วจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

  1. พิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยนอกงาน เพื่อป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน หรือความไม่ปลอดภัยในการทำงานเสนอต่อนายจ้าง
  2. รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ผู้รับเหมา และบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือเข้ามาใช้บริการในสถานประกอบกิจการ
  3. ส่งเสริมสนับสนุน กิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถาประกอบกิจการ
  4. พิจารณาข้อบังคับและคู่มือตามข้อ 3 รวมทั้งมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถาประกอบกิจการเสนอต่อนายจ้า
  5. สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงาน และตรวจสอบสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการนั้น อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
  6. พิจารณาโครงการหรือแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานรวมถึงโครงการหรือแผนการอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยของลูกจ้าง หัวหน้างาน ผู้บริหาร นายจ้าง และบุคลากรทุกระดับเพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง
  7. วางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยให้เป็นหน้าที่ของลูกจ้างทุกคนทุกระดับต้องปฏิบัติ
  8. ติดตามผลความคืบหน้าเรื่องที่เสนอนายจ้าง
  9. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี รวมทั้งระบุปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเมื่อปฏิบัติืหน้าที่ครบหนึ่งปี เพื่อเสนอต่อนายจ้าง
  10. ประเมิณผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
  11. ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย

 

กรรมการอยู่ในตำแหน่งคราว 2 ปี

 

กรรมการอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2ปี

  • แต่อาจได้รับการแต่งตั้งหรือเลือกตั้งใหม่ได้ การแต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้ดำเนินการแต่งตั้งหรือเลือกตั้ง ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันก่อนวันที่กรรมการครบวาระ และให้กรรมการใหม่ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่กรรมการชุดเดิมครบวาระ
    ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่ากรรมการใหม่จะเข้ารับหน้าที่

นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามวรรคหนึ่ง กรรมการพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ

  1. พ้นจากการเป็นผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา ผู้แทนลูกจ้าง หรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูงหรือระดับวิชาชีพ
  2. พ้นจากการเป็นลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ
    การได้มาซึ่งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างให้เป็นไปตามข้อ ๒๔ โดยอนุโลม และให้กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งหรือเลือกตั้งอยู่ในตำแหน่งเพียงเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน
logo Skbfinancia

เกี่ยวกับเรา

แหล่งข้อมูลดีๆ ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน ทุกบทความถูกจัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญ และมีเนื้อหาที่สเข้าใจง่าย

เรื่องล่าสุด

©2023 – All Right Reserved. Designed by  skbfinancialservices